การเขียนบท

การเขียนบทหนัง บทภาพยนตร์

การสร้างพล็อตเรื่อง

จากคำบรรยายวิชาเขียนบทละครของ อาจารย์ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง
สรุปกระบวนการคิด Plot
ขึ้นที่ 1 Illustrate Idea
  • Premise / Theme
  • Characterization
  • Situation
ทั้งสามอย่างนี้เป็นหนึ่งเดียวกันจะเริ่มคิดอะไรก่อนก็ได้

ขึ้นที่ 2 Purpose of Charater
  1. Condition of Action - เงื่อนไขการกระทำของตัวละครเอก = องก์ 1 (Act 1)
  2. Clause of Action - เหตุ ของการกระทำ = องก์ 2 (Act 2)
  3. Effect of Action - ผล ของการกระทำ = องก์ 3 (Act 3)
หนังส่วนใหญ่จะใช้ทฤษฎีละคร 3 องก์

ขึ้นที่ 3 Ending
Ending
ควรจะ พิสูจน์ "Premise หรือ Theme" เช่น Premise คือ "ความรักทำให้เกิดทุกข์ได้"
Ending
ก็จะออกมาในรูปของการตอบคำถามที่ว่า"โรมิโอจะสามารถหาความสุขกับจูเลียตได้หรือไม่" ซึ่งThird Person จะเป็นตัวบ่งบอก Premise ของเรา





จะเริ่มต้นคิดเรื่อง จากอะไร

เริ่มคิดจาก Theme
เช่น "คนเราจะรักกันโดยที่ไม่มีเรื่องเพศมาเกี่ยวข้องได้หรือไม่" (The Object of My Affection)
เริ่มคิดจาก Character ที่น่าสนใจ

เช่น คนปัญญาอ่อนที่มีความอัจริยะใน ในด้านใดด้านหนึ่ง แต่ปิดความรับรู้ในด้านอื่น ๆ ทั้งหมด (Forrest Gump และ Rainman) ,คนที่เป็นโรคแก่เร็ว (Jack)
เริ่มคิดจากคำถาม What if...? อะไรจะเกิดขึ้นถ้า....?
เช่น อะไรจะเกิดขึ้นถ้าไดโนเสาร์มีชีวิตอีกครั้งในยุคปัจจุบัน+ (Jurassic Park)
วิธีนี้จะต้องสร้าง Fictional truth หรือความจริงในละคร เป็นอันดับแรก คือ ต้องทำให้คนเชื่อเรื่องโม้ ให้ได้ก่อน ซึ่งใน Jurassic Park ก็ใช้วิธีฉาย Animation อธิบายวิธีการสร้างไดโนเสาร์ จนกระทั่งคนดูยอมรับความจริงตรงนี้ได้ (ทั้งที่ความจริงเป็นไปไม่ได้ก็ตาม แต่คนดูเชื่อก็พอแล้ว) จึงค่อยเข้าสู่เรื่อง

Plot ต่างจาก Story อย่างไร?

Story คือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้ชมต้องการรู้เพียงว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป แต่ Plot เป็นมากกว่าบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ผู้ชมจะตั้งคำถามที่ต่างออกไปคือ "ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น" Plot คือห่วงโซ่ของความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุและผล (Cause-and-effect) นักเขียนนิยายชื่อ E.M. Forster ได้อธิบายถึงความแตกต่างของ Plot กับ Story ไว้ในหนังสือ "Aspects of the Novel" ด้วยการยกตัวอย่างว่า ประโยค "กษัตริย์ตาย และราชินีตาย" มีสองเหตุการณ์ เป็น Story แต่ถ้าเราเพิ่มประโยคท้ายลง ไปอีกหน่อยว่า "กษัตริย์ตาย แล้วราชินีก็ตายเพราะความโศกเศร้า" ก็จะกลายเป็น Plot แล้ว
(
เรียบเรียงจากหนังสือ 20 Master Plots And How to Build Them by Ronald B. Tobias )



ILUSTRATE IDEA

SUBJECT


    1.หา Premise หรือ Theme คือ ความคิดที่เราต้องการจะสื่อ เปรียบเสมือนเสาเอกของบ้าน ต้องมั่นคง ควรอธิบายให้ได้ใน 1 ประโยค เป็นประโยคที่สามารถอธิบายความคิดของเราได้ดีที่สุด ซึ่งอาจเรียก ได้ว่าเป็น "ประโยคเด็ด"

    2.หาวิธีแสดง Theme นั้นอย่างชัดเจนเป็น"รูปธรรม"
    รูปธรรม หมายความว่า เราสามารถที่จะ Illustrat ได้
    ส่วน"นามธรรม" นั้นก็ต้องเริ่มต้นมาจากรูปธรรม ("ปัญญา ไม่ได้เกิดก่อนเราจะเขียน")

      CHARACTERLIZATION



      ตัวละคร จะ Reflect มาจากประโยคเด็ด

      คือ สร้างตัวละครที่มีคาแรกเตอร์ที่ตรงข้ามกับ"ประโยคเด็ด" ที่เราตั้งไว้

      "บทละครที่ดีควรมีความขัดแย้ง (Oppositional)"

      องค์ประกอบของตัวละคร มี 3 ประการใหญ่ ๆ

      1. Phisical (ทางกายภาพ) ได้แก่ เพศ อายุ รูปร่าง สีผิว ผม สายตาสั้น/ยาว กรรมพันธ์ ฯลฯ
       
      2.Phycology ( ทางจิตใจ) ได้แก่ Sex life, Ambition, คติธรรม, เคยผิดหวังอะไรมารึเปล่า, มองโลกในแง่ดี/ร้าย ล้มเหลว หรือชนะชีวิต, Phobia, เปิดเผย หรือเก็บตัว, Ability, Taste, IQ ฯลฯ
       
      3.Society (สถานภาพทางสังคม) ได้แก่ รวย/จน, อาชีพ ลักษณะงาน รายได้,เขาชอบงานของเขารึเปล่า ทำไปเพื่ออะไร ,เขาเหมาะกับงานรึเปล่า,การศึกษามากหรือน้อย,ชีวิตทางบ้าน,นิสัยพ่อแม่เป็นอย่างไร,สติปัญญาพ่อแม่เป็นอย่างไร,การแต่งงานเป็น อย่างไร,เคร่งศาสนาหรือไม่,มีชมรมอะไรรึเปล่า,เป็นผู้นำหรือผู้ตาม,บทบาททางการเมือง ฯลฯ


      "ผู้เขียนคือผู้ที่ไม่เขียน" หมายความว่า ผู้เขียนเป็นเพียงสื่อแห่งการเขียน (Medium) เท่านั้น ตัวละครจะเขียนตัวมันเอง"

      "เราต้อง Work กับตัวละคร ไม่ใช่ Work กับปรัชญาของตัวละคร"

      "คนดูจะเห็นตัวละครก่อนที่จะรู้จัก Plot"

      SITUATION - การสร้างสถานการณ์

      องค์ประกอบ ที่ก่อให้เกิดสถานการณ์
      1. เวลา
      2. บุคคล
      3. สถานที่


      องค์ประกอบทั้งสามอย่างนี้ ต้อง ขัดแย้งซึ่งกันและกัน คือ ตัวละครต้องทำ,เวลาต้องเร่ง(หรือช้าในกรณีที่ตัวละครต้องการให้เร็ว) เวลาในที่นี้ต้องสามารถ Illustrate ได้ ตัวอย่างเรื่อง Die Hard เป็นสถานการณ์ที่ชัดเจนมาก คือต้องช่วยคนให้ทันก่อนระเบิด คนที่ไม่ควรอยู่ในเหตุการณ์ก็กลับต้องมาอยู่ สถานที่ก็เป็นที่ที่ไม่เอื้อให้ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ ต้องพยายามสร้างสถานที่ไม่เอื้ออำนวยให้กับตัวละครให้มากที่สุด

      ตัวอย่าง สถานการณ์ลิฟท์ค้าง ถ้าลิฟท์ค้างอย่างเดียว สถานการณ์ไม่แรง ต้องให้ไฟไหม้อีก และตัวละครยังเป็นคนท้อง แถมยังติดอยู่ในลิฟท์กับคนบ้า

      สถานการณ์ เป็นสิ่งที่คนดูไม่รับได้ด้วยสมอง แต่รู้สึกได้ด้วยใจ

      LOGIC

      การสร้างเรื่อง จะหลีกเลี่ยงตรรกะนี้ไม่พ้น
      • เมื่อ A = B
      • และ B = C
      • ดังนั้น A = C
      Plot คืออะไร ?
      plot คือ การกระทำ (ACTION) ของตัวละครเอก (First Character) ...........A
      ขั้นต่อมาต้องสร้าง Second Character ให้แตกต่างสุดขั้ว..............................B
      ขั้นต่อมาก็สร้าง Third Person ซึ่งอาจจะไม่ใช่คนก็ได้ อาจจะเป็นนามธรรม........C
      ตัวอย่างเรื่อง"โรมิโอกับจูเลียต" A = โรมิโอ , B = จูเลียต , C = พี่ชายของจูเลียต

      Catastrophe ความหายนะ

      คือสิ่งที่ต้องมีในพล็อต
      ตัวอย่างเรื่อง"โรมิโอกับจูเลียต"ทันทีที่โรมิโอฆ่าพี่ชายของจูเลียต เมื่อนั้นเกิด ความหายนะ
      ตัวอย่างเรื่อง"เพื่อนยาก" ทันทีที่เลนนี่ ฆ่าผู้หญิง เมื่อนั้นเกิด ความหายนะ


      Characters Functions

      สรุปย่อจากหนังสือ "The Screenplay:blend of film form and action" ของ Margaret Mehring โดย สลัดตาโต

      1. Protagonist หรือ ตัวละครหลัก

      • เป็นตัวที่จะได้รับ Change & Growth
      • เป็นตัวที่ทำให้เรื่องเดิน
      • Active ,never passive
        (
        เพิ่มเติมจากหนังสือ Syd Field's Screenplay:The Foundation of Screenwriting อธิบายว่า ให้เราเลือกว่าจะให้ใครเป็นตัวละครหลัก หรือ main character แม้แต่หนังคู่หู อย่าง "Butch Cassidy and the Sundance Kid" ก็มีตัวละครหลักเพียง 1 คน คือ Butch ซึ่งจะเป็นผู้วางแผน และ กระทำ เป็นคนนำ แล้ว Sundance ตาม กล่าวได้ว่า Sundance เป็น ตัวละครเด่น (major character) แต่ไม่ใช่ตัวละครหลัก (main character)
      • ส่วนสำคัญของชีวิตตัวละครจะพังถ้าไปไม่ถึง"เป้าหมาย"
      • ถูกบีบบังคับให้กำหนดเป้าหมาย ให้หากลวิธี และดิ้นรนต่อสู้เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของตน
      • ต้องมีความแข็งแรงและความยืดหยุ่น เพื่อเอาชนะอุปสรรค
      • ความเติบโตของ Protagonist คือช่องที่เราจะสื่อ Theme ของหนังได้

      2. Modifier หรือ คู่หูคู่ปรับ

      • เป็นตัวผลักดันและส่งเสริม Change&Growth ของ Protagonist
      • เป็นตัวที่ก้าวเข้ามาเป็นองค์ประกอบใหม่ในชีวิตของ Protagonist ทำให้เกิดเรื่องใหม่ ๆ ขึ้น
      • เป้าหมายของ Protagonist กับ Modifier จะสัมพันธ์กัน คือ Plot Action เหมือนกัน แต่จะอยู่ตรงข้ามกัน ทั้งคู่จะมุ่งไปทิศเดียวกัน แต่ทางต่างกัน แล้วจะมาชนกันในที่สุด เมื่อนั้นจะเกิด Drama อุปสรรค ผลักดัน Protagonist ให้เกิดการตัดสินใจใหม่ ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมใหม่ พฤติกรรมใหม่นำไปสู่การค้นพบ"Previously unknown resorces and insights" ซึ่งนำไปสู่ Change&Growth
      • ตัวอย่างเรื่อง An Officer and a Gentle man ตัวละครที่ทำหน้าที่ Modifier คือ "Foley" หรือครูฝึกทหาร

      3. Opponent หรือ ศัตรู หรือผู้ร้าย

      • เป็นตัวสร้างเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและอุปสรรค เพื่อให้ Protagonist เอาชนะ
      • เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการ Change&Growth เพราะ สร้างสถานการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งเรียกร้องการตัดสินใจใหม่ ๆ และพฤติกรรมใหม่จาก Protagonist แต่อุปสรรคนี้จะเกี่ยวกับ plot มากกว่า character
      • Modifier และ Opponent จะ เผชิญหน้ากับ Protagonist เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ผล คือ Modifier ส่งผลต่อ "character change" เป็นความสัมพันธ์กันแบบ win-win แต่ Opponent จะส่งผลต่อ "situation change" เป็นความสัมพันธ์กันแบบ win-lose

      4. Catalyst

      • เป็นอีกตัวหนึ่งที่นำสถานการณ์ใหม่ หรือ ข้อมูลใหม่เข้ามา ซึ่งเรียกร้องการตอบสนองจาก Protagonist แต่ไม่เข้ามาขัดแย้ง แบบเผชิญหน้า
      • ส่วนใหญ่จะไม่มาเกี่ยวข้องกับ main action จะเพียงแค่นำสถานการณ์ใหม่ ความยุ่งยากใหม่ เข้ามา
      • ตัวอย่าง- การฆ่าตัวตายของ "Sid" ใน An Officer and a Gentlemanคือ ตัว Catalyst ของเรื่อง

      5. Thematic Spokesperson

      • เป็นตัวทำให้ Theme สื่อออกมาเป็นรูปธรรมขึ้น อาจจะด้วยคำพูด หรือไม่ก็ได้

      6.Supporting

      • บทสมทบหรือ Secondary characters มี plot และเป้าหมายของตัวเอง
      • การตัดสินใจของเขา จะส่งผลต่อ
      • ส่วนใหญ่จะมี 2 ตัวให้เห็น contrast ตัวอย่างเช่น ในเรื่อง An Officer and a Gentleman- "Lynette" จะแตกต่างจาก "Paula" มาก
      • บางตัวก็แค่สร้างสีสัน ตัวอย่างจากเรื่องAn Officer and a Gentleman - ได้แก่ "Casey","Perryman", "Della-Serra" และ นายทหารคนอื่น ๆ

      7.Lesser Roles

      • ตัวละครที่มีหน้าที่เล็กน้อยต่อเรื่อง เพื่อส่งเสริมความสมจริงของสถานการณ์ - ตัวอย่างจากเรื่อง An Officer and a Gentleman ได้แก่ พ่อแม่ของ Paula เป็นตัวแทนของสิ่งที่ Paula ต้องการจะหนี
      • และตัวประกอบอื่น ๆ ที่มีไว้เพื่อสร้าง ambiance ให้กับเหตุการณ์


      Dialogue


      สรุปย่อจากหนังสือ Syd Field's Screenplay:The Foundation of Screenwriting
      Dialogue เป็นหน้าที่ของตัวละคร ถ้าผู้เขียนรู้จักตัวละครเป็นอย่างดีแล้ว คำพูดจะหลั่งไหลออกมาเอง dialogue อาจดูทะแม่ง ๆ ใน 60 หน้าแรกของบทร่างแรก ไม่ต้องกังวลเพราะมันจะลื่นไหลขึ้นใน 60 หน้าถัดไป และเมื่อเขียนจบเรื่อง ค่อยย้อนกลับไปเกลา dialogue ใน 60 หน้าแรก
      dialogue ต้องให้ข้อมูล และข้อเท็จจริง ของเรื่อง ต่อผู้ชม ต้องทำให้เรื่องเดินไปข้างหน้า ต้องเผยตัวตนของตัวละคร ต้องเผยความขัดแย้งภายในและระหว่างตัวละคร ต้องแสดงอารมณ์และสำนวนการพูดจาของตัวละครตัวนั้น
      dialogue ทั้งหมดนี้ออกมาจากตัวละคร

      Story Development


      การวางโครงเรื่อง
      ·  แบบที่ 1
      1. Exposition - ปูพื้นเรื่อง และตัวละคร (Character)
      2. Foreshadowing - คือการตั้งเค้าของเรื่องราวที่ตัวละครเอกจะเจอ
      3. Point of Attack - จุดเริ่มเรื่อง จะวางให้เริ่มเรื่องเร็ว(Early Point) หรือเริ่มเรื่องช้า (Late Point) คือเริ่มเมื่อใกล้จุดปะทุ
      4. Inciting Incident - เหตุการณ์กระตุ้นที่ใส่เข้ามาเพื่อให้ Action หลักเดินต่อไป
      5. Complication สร้างความยุ่งยาก เพราะบางทีพลังของ Inciting มันเริ่มอ่อนลง Complication จะช่วยเพิ่ม พลังให้กับเรื่อง เป็นการสร้างอารมณ์ suspense หรือ ความใจจดใจจ่อ(ต่อเรื่อง) ความกระหายอยากรู้เรื่องต่อ หรือการรอ อย่างอกสั่นขวัญหนีให้กับคนดู และเมื่อดำเนินเรื่องมาถึงจุดหนึ่งก็จะมีการค้นพบ (Discovery) คือจากความไม่รู้เป็นการรู้ความจริง ซึ่งพลิกผันไปจากความคาดหมาย (มีบางคนบอกว่า การสร้าง Plot ไม่มีอะไรมาก เพียงแต่นำเอา Discovery ต่าง ๆ มาเรียงต่อกัน)
      6. Crisis - ช่วงเวลาที่ตัวละครเผชิญหน้าอยู่กับทางเลือกที่จะต้องตัดสินใจ
      7. Climax - ช่วงที่อารมรณ์ของเรื่องขึ้นจุดสูงสุด (ส่วนใหญ่ Crisis มักจะเกิดพร้อมกับ Climax)
      8. Denouncement - คลี่คลาย
      ·  แบบที่ 2
      1. Exposition คือการปูพื้นเรื่อง และแนะนำตัวละคร (Character)
      2. Inciting Moments คือช่วงที่เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ช่วงนี้ควรรวดเร็วอย่ายึกยัก ตัวอย่างเรื่อง Jurassic Park จะอยู่ในฉากเปิดเรื่อง ก่อนการปูพื้นตัวละคร คือ เหตุการณ์ที่ไดโนเสาร์ในกรงกัดคนงานที่กำลังขนย้ายกรงเข้าไปในเกาะ
      3. Turning Point คือจุดหักเหที่ทำให้เรื่องราวที่เราปูมาพลิกผันไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะกลับกลายเป็นเรื่องร้ายไปในทันที นึกง่าย ๆ คือ ถ้าไม่มีเหตุการณ์นี้เรื่องทั้งหมด ก็จะไม่เกิดขึ้น เช่น ใน Jurassic Park ก็คือตอนที่เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์อ้วนทิ้งหน้าที่ไป เพื่อขโมยเชื้อไดโนเสาร์หนีออกนอกเกาะ ทำให้ ระบบคอมพิวเตอร์ของเกาะรวน ไดโนเสาร์จึงออกมาอาละวาดนอกเขตได้
      4. Falling Action คือช่วงที่มีปัญหาต่าง ๆ เข้ามาให้ตัวละครเอกแก้ไข เป็นช่วงที่เรื่อง จะไม่ค่อยเดินไปข้างหน้า แต่จะเป็นสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อความเพลิดเพลินให้แก่ของคนดู ที่ต้องการจะดูการแก้ ปัญหาของตัวละครเอก เช่น การอาละวาดของไดโนเสาร์ และการหนีของตัวละคร ซึ่งแล้วแต่จะดีไซน์กันว่าจะให้อาละวาดยังไงถึง จะลุ้น บางทีจะมีการแทรกบทตัวตลก,ตัวปากร้าย เข้ามา เพื่อทำให้ละครมีรสชาติขึ้น
      5. Climax
      6. Conclusion
      การเปิดเรื่อง
      ·  เปิดด้วย Conflict ของตัวละครเอก แต่อย่าบอกเพียงแค่ Character ลอย ๆ จะต้อง"นำเข้าสู่เรื่อง" ไปด้วย
      ·  เปิดด้วยเหตุการณ์ที่เร้าอารมณ์คนดู แต่เหตุการณ์นั้นต้องเกี่ยวข้องกับ Main Concept ของเรื่องด้วย
      ·  เปิดด้วยอารมรณ์หลักของหนังเรื่องนั้น เช่นหนังตลก ก็เปิดด้วยมุขตลก หนังสยองขวัญก็เปิดด้วยการฆาตรกรรม หนังแอ๊คชั่น ก็เปิดด้วยฉากแอ็คชั่น เป็นต้น เพื่อเป็นการเตรียมอารมณ์คนดูให้รู้ว่าหนังที่เขากำลังจะได้ชมต่อไปนี้มันอารมณ์ไหน


      เราจะเขียนบทภาพยนตร์ภายใน 21 วันได้อย่างไร
      (เรียบเรียงจากหนังสือ "How to write a movie in 21 days" ของ VIKI KING โดยดุลยสิทธิ์ นิยมกุล)


      ช่นเดียวกับการถ่ายทำภาพยนตร์ที่เริ่มต้นการ Pre-production,Production และ Post-productionการเขียนบทก็เช่นเดียวกัน เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

      1. SET UP

      หมายถึง ผู้เขียน ทำตัวเองพร้อมที่จะเริ่มงานเขียนบทภาพยนตร์ต่อไป ความพร้อมในที่นี้ หมายถึง
      ผู้เขียนบทภาพยนตร์ชัดเจนในข้อตกลงเบื้องต้นดังต่อไปนี้

      1.1 Idea ของตัวเรื่องราวนี้คืออะไร

      เราจะพัฒนามันไปในแนวทางของหนังชินดไหน ตัวอย่างเช่น ไอเดียที่เกิดจาก story "ถ้านาย ก. สามารถรู้อนาคตได้ และรู้ว่าใน วันรุ่งขึ้นคนที่เขารักจะถูกรถชน เขาจะทำอย่างไร" หรือ ไอเดีย ที่เกิดจากแง่มุม ทางการค้า "เมื่อง Matt Dillon เป็นเกย์ และ Nicole Kidman คือคนที่จะมาหลงรักเขา" หรือ "มอสเจอกับเทพ โพธ์งาม" เป็นต้น

      1.2 Plot ของเรื่องคืออะไร

      Plot ที่ผู้เขียนบทขายกันอาจจะยาว 1,2 หรือ 3 หน้ากระดาษก็ได้ แต่ไม่ว่ามันจะถูกเล่าออกมาหรือไม่ก็ตาม ผู้เขียนบทจะต้องสามารถทำให้ตัวเองเล่า Plot นี้ให้จบภายใน 2 บรรทัดให้ได้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อความชัดเจนของผู้เขียนบท เอง ในการจะพัฒนาเรื่องราวให้เป็นบทภาพยนตร์ต่อไป

      1.3 ตัวละคร


      1.4 How to tell your stroy to really movie

      คือคำถามที่ผู้เขียนบทจะต้องตอบกับตัวเองได้ยอ่างชัดเจนว่าจะเล่าไอเดียหรือ Plot นั้น โดยวิธีการของหนัง และให้เป็นหนังได้อย่างไร ทั้งนี้รวมไปถึงการเลือกมุมมองที่จะใช้ในการเล่าเรื่อง(point of view) ว่าจะเล่าเรื่องผ่านตัวละคร ตัวไหนด้วย

      1.5 กำหนดรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรอบและโครงสร้างของเรื่อง

      ทั้งนี้ การกำหนดไว้ในตอนแรกอาจจะมีประโยชน์ต่อผู้เขียนบท ได้ในหลายกรณี เช่น กำหนดโลเคชันของเรื่อง ชานเมือง,ย่านธุรกิจในเมือง,โรงเรียนมัธยม,เมืองชายทะเลที่เงียบสงบ
      หลังจากผู้เขียนบททำความชัดเจนกับข้อตกลงเบื้องต้น(Idea,Plot,Character ฯลฯ) รวมทั้งได้เขียน Treatment หรือโครงสร้างของภาพยนตร์ ทั้งแบบย่อและแบบขยายเสร็จสมบูรณ์ ผู้เขียนบทก็มีความพร้อมที่จะเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ได้แล้ว
      จะเขียนบทภาพยนตร์(ให้เสร็จ)ภายใน 21 วันได้อย่างไร ?
      แนวคิดในหนังสือของ Viki King ตลอดจนถึงชื่อเรื่องพยายามชักจูงให้ผู้เขียนบทตระหนักถึงการวางแผนการทำงาน การให้รางวัลกับตนเอง และการสรุปผลงานให้ชัดเจน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เขียนบทเชื่อในการมีวินัยในการทำงาน จนสามารถผลักดันผลงานบทภาพยนตร์ของตนเอง ออกมาได้สำเร็จ ทั้งนี้ได้ยกตัวอย่างการวางแผนการเขียนบทภาพยนตร์ร่างแรกให้จบภายใน 21 วัน ดังนี้

      วันที่ 1 ถึงวันที่ 7 : ให้เขียนบทภาพยนตร์จาก Treatment ให้เสร็จตั้งแต่ต้นจนจบทั้งเรื่อง โดยวางแผนการเขียนอย่างง่าย ๆ เช่น จำนวน ฉากหารด้วย 7 วัน ซึ่งผู้เขียนบทจะได้จำนวนฉากที่จะต้องเขียนให้เสร็จต่อวั้นจำนวนหนึ่ง ผู้เขียนบทจะต้องเขียนหรืออย่างน้อยก็ให้ใคร่ครวญ ให้ครบในทุก ๆ ฉาก และเขียนสิ่งที่ต้องการจะเล่าในแต่ละฉากออกมาให้มากที่สุดโดยยังไม่ต้องเสียเวลากับการพิจารณาจังหวะจะโคนเท่าไร นัก ในฉากที่ผู้เขียนบทไม่มีไอเดียหรือรูปแบบในการเล่าอย่างใดเลย สามารถข้ามฉากนั้น ๆ ไปก่อนได้ ทั้งนี้หากไม่เป็นการเลวร้ายจนเกิน ไป เมื่อคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดในเวลานั้นได้ก็ควรเขียนลงไปก่อน พึงระลึกเสมอว่าสิ่งที่เขียนเป็นงานในร่างแรกเท่านั้น และอย่าเพิ่งท้อใจใน ความตื้นเขินทางความคิดของตนเอง หนังสือของ Viki King ได้เสนอเวลาในการเขียนบทในแต่ละวัน ไม่ควรมากกว่า 3 ชั่วโมง และควรใช้เวลา ส่วนใหญ่ relax ไปกับสิ่งต่างๆ รอบตัว(จะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่)
      วันที่ 8 : เมื่อทุกอย่างเป็นไปตาม Plan ที่วางไว้ ก็จัดให้วันนี้เป็นวันพักผ่อนของเรา
      วันที่ 9 : นำสิ่งที่เราเขียนในวันที่ 1 ถึงวันที่ 7 มาอ่าน, Comment, เขียนโน้ตสั้น ๆ ใคร่ครวญอย่างรอบคอบและหาแนวทางที่จะแก้ไขต่อไป
      วันที่ 10 ถึงวันที่ 17่ : เป็นการเขียนแก้ไข (rewrite) ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยวางแผนช่วงเวลาการ rewrite ให้สามารถแก้ไขได้ครบ โดยในแต่ละวัน อาจมีฉากที่ต้องแก้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายและการวางแผนการทำงาน ในวันที่ 9
      วันที่ 18 ถึงวันที่ 21 : ให้เป็น 4 วันแห่งการขัดเกลาบทสนทนา จังหวะจะโคนของบทที่ยังดูลักหลั่น การตบแต่ง Character ให้เข้ารูปเข้ารอย โดยใช้เวลาในวันที่ 21 ในการเข้ารูปเล่มบทภาพยนตร์ รวมทั้งอย่าลืมที่จะพิมพ์หน้าปกว่าเป็น"บทภาพยนตร์ฉบับร่างแรก" (First draft)
      Viki King ได้เตือนสติผู้เขียนบทภาพยนตร์ทุกคนว่า ในบทภาพยนตร์ฉบับร่างแรกนั้นสิ่งที่ผู้เขียนบทจะได้ก็คือ ความชัดเจนในโครงสร้าง ของเรื่อง ซึ่งอาจจะมีรายละเอียดบางอย่าง ตลอดจนถึงการคำนวณเวลาที่เป็นรูปธรรมมากกว่าใน Treatment ผู้เขียนบทภาพยนตร์ไม่ควร คาดหวังและไม่ควรผิดหวังในสิ่งที่ได้ในร่างแรกจนเกินไปนัก พึงระลึกเสมอว่าเป็นเพียง 21 วันของการเขียนบทภาพยนตร์ฉบับร่างแรก เท่านั้น

      การเขียนบทดัดแปลง
      (Adaptation)


      สรุปจากหนังสือ Adventures in the Screen Trade : A Personal View of Hollywood and Screenwriting
      ของ William Goldman โดย สลัดตาโต
      ก่อนเขียน ให้ตอบคำถามเหล่านี้
        1. เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร - คำตอบไม่ได้มีคำตอบเดียว เรื่องต้นแบบเป็นเพียง"วัตถุดิบ"ที่เราจะนำมาดัดแปลงให้เข้ากับ Emotional Connection ของเรา
        2. แก่นของเรื่องคืออะไร
        3. เวลาในหนัง
          - ช่วงเวลาหรือยุคสมัยของเรื่องคือช่วงไหน (period)
          - ระยะเวลาในเรื่อง (duration) ต้องชัดเจน หนังบีบเวลาได้ด้วยเทคนิคของหนัง
        4. ใครเป็นผู้เล่าเรื่อง เป็นการเล่าเรื่องในมุมมองของใคร
        5. เรื่องเกิดขึ้นที่ไหน
        6. ตัวละคร
          - มีกี่ตัว ตัวไหนไม่จำเป็น ตัดออกได้มั้ย
          หรือผสมกับตัวอื่นได้มั้ย
        7. อะไรที่เราต้องรักษาไว้ อะไรที่เราควรจะเปลี่ยน
          การเปลี่ยนย่อมต้องเกิดขึ้นเสมอ แต่การเปลี่ยนเรื่องเดิมจะต้อง คำนึงถึง จุดมุ่งหมายเดิมของผู้ประพันธ์ และ อารมณ์หลักของเรื่องเดิม


      กฎเกณฑ์ 20 ข้อในการเขียนเรื่องแนวสืบสวน


      S.S. Van Dine หรือ Willard Huntington Wright นักเขียนเรื่องแนวสืบสวนผู้มีชื่อเสียงได้เสนอกฎเกณฑ์ 20 ข้อที่ควร ปฏิบัติในการเขียนเรื่องแนวสืบสวนไว้ดังนี้
      1. ผู้อ่านต้องมีโอกาสในการแก้ไขปมปัญหาอย่างเสมอภาคกับนักสืบ หลักฐานทั้งหมดต้องอธิบายและบอกกล่าวอย่างเปิดเผย
      2. ต้องไม่มีการหลอกลวงหรือการเล่นกลอย่างจงใจกับผู้อ่าน มีแต่การสวมบทบาทอย่างสมเหตุสมผลของอาชญากรกับตัวนักสืบเองเท่านั้น
      3. ไม่ต้องมีเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ สิ่งสำคัญของเรื่องคือการนำอาชญากรไปสู่ความยุติธรรม ไม่ใช่นำไปสู่แท่นแห่งการสมรส
      4. ตัวนักสืบเอง หรือหนึ่งในเจ้าหน้าที่สืบสวนไม่ควรปรากฎในภายหลังว่าเป็นอาชญากร เพราะจะทำให้มันเป็นอุบายที่แย่มาก
      5. ต้องสามารถตรวจสอบผู้กระทำผิดได้จากหลักเกณฑ์ที่สมเหตุสมผล ไม่ใช่จากอุบัติเหตุหรือเหตุบังเอิญ หรือการสารภาพที่ปราศจากแรงกระตุ้น การแก้ปัญหาของอาชญากรในแบบหลังเสมือนการส่งผู้อ่านไปไล่ห่านป่าอย่างระมัดระวัง แล้วต่อมาจึงค่อยบอกพวกเขาหลังจากที่พวกเขาล้มเหลวแล้วว่า คุณมีสิ่งที่พวกเขาต้องการอยู่ตลอดเวลา นักเขียนประเภทนี้ไม่มีอะไรดีไปกว่าตัวตลกคนหนึ่ง
      6. นวนิยายสืบสวน ต้องมีนักสืบหนึ่งคนในเรื่อง และนักสืบนายนั้นก็จะยังไม่เป็นนักสืบ จนกว่าเขาจะลงมือสืบสวน หน้าที่ของเขา คือ การรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ที่จะค่อย ๆ สาวไปสู่ บุคคลผู้ก่อเหตุเลวร้ายในบทแรกสุด และหากนักสืบไม่สามารถบรรลุข้อสรุปของเพื่อนำมาวิเคราะห์หลักฐานเหล่านั้นได้ เขาก็ไม่ใช่บุคคลที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาของเขาได้ดีไปกว่า เด็กนักเรียนผู้ร้คำตอบจากเฉลยที่อยู่ด้านหลังโจทย์คณิตศาสตร์
      7. เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีศพ 1 ศพในเรื่องแนวสืบสวน การมีศพเป็นเรื่องที่ดี ไม่มีอาชญากรใดดีไปกว่าการฆาตกรรม หนังสือความยาว 300 หน้า โกลาหลเกินไปสำหรับอาชญากรรม ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาและการสิ้นเปลืองพลังงานของผู้อ่านต้องคุ้มค่า
      8. ปัญหาของอาชญากรรมในเรื่องต้องได้รับการแก้ปัญหาโดยหลักธรรมชาติที่สมเหตุสมผล พวกวิธีการเล่นผีถ้วยแก้ว การเข้าทรง และการเพ่งลูกแก้ว หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับอำนาจลี้ลับเป็นข้อห้าม ผู้อ่านยังมีโอกาสชนะเมื่อรวมไหวพริบของเขาเข้ากับเหตุผลของนักสืบ แต่ถ้าหากผู้อ่านต้องมาแข่งกับไสยศาสตร์แล้วล่ะก็ ยังไง ๆ เขาก็แพ้
      9. ต้องมีนักสืบเพียงคนเดียวเท่านั้น หรือมีพระเอกเพียงคนเดียว การมีนักสืบเป็นทีมนอกจากจะทำให้เรื่องกระจัดกระจายแล้ว ยังทำลายความต่อเนื่องของเหตุผลอีกด้วย และแถมยังไม่ยุติธรรมกับผู้อ่านอีก หากมีนักสืบมากกว่าหนึ่งคน ผู้อ่านก็จะไม่รู้ว่าใครคือคนที่เขาจะต้องร่วมมคิดแก้ไขปัญหาด้วยกัน เสมือนกับการให้ผู้อ่านไปแข่งวิ่งร่วมกับทีมวิ่งผลัด
      10. อาชญากรผู้เผยโฉมในภายหลังต้องเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญไม่มากก็น้อยในเรื่อง หรือเป็นตัวละครตัวใดตัวหนึ่งที่ผู้อ่านคุ้นเคยและสนใจ
      11. นักเขียนต้องไม่เลือกให้คนรับใช้ เป็นอาชญากร เป็นเรื่องการวิงวอนของปัญหาทางศีลธรรม และเป็นการแก้ปัญหาที่ง่ายเกินไป อาชญากรต้องเป็นคนที่คุ้มค่าแก่การสงสัย ไม่ใช่บุคคลที่คนทั่วไปดูแล้วน่าสงสัย
      12. ต้องมีอาชญากรเพียงคนเดียวเท่านั้น ไม่สำคัญว่าจะเกิดอาชญากรรมขึ้นกี่ครั้งก็ตาม แน่นอนที่อาชญากรอาจมีผู้ช่วย หรือผู้ร่วมทีม แต่ภาระหน้าที่ทั้งหมดต้องตกอยู่กับคนเพียงคนเดียว
      13. สังคมลับ ๆ หรือพวกมาเฟีย ไม่ควรมีในเรื่องแนวสืบสวน จงแน่ใจว่าฆาตกรในเรื่องมีโอกาสกล้าได้กล้าเสีย แต่มันก็เกินไปที่จะให้พวกเขามีสังคมลับ ๆ ของตนที่จะหลบซ่อน ไม่มีฆาตกรมีระดับที่เชื่อมั่นในตนเองคนใดจะต้องการเรื่องประหลาดแบบนี้
      14. วิธีการของฆาตกร และแนวทางในการสืบสวน ต้องสมเหตุสมผลและใช้ความรู้ความชำนาญ อาจกล่าวได้ว่าวิทยาศาสตร์กำมะลอ จินตนนาการล้วน ๆ และคำแนะนำที่เกิดจากการเดาไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นในเรื่อง ครั้งหนึ่งเมื่อนักเขียนทะยานขึ้นสู่ ขอบแห่งความเพ้อฝัน ในแบบของจูลส์ เวิร์น (นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์) คือเขาได้ก้าวออกไปนอกขอบเขตของเรื่องแนวสืบสวนแล้ว
      15. ข้อเท็จจริงของปัญหาต้องแสดงให้ผู้อ่านที่มีไหวพริบพอเห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่อง หมายความว่า หลังจากที่ผู้อ่านได้คำอธิบายของอาชญากรรมนั้น ๆ แล้ว ผู้อ่านควรจะเห็นสิ่งที่ข้อสรุปนั้นมีด้วย ด้วยความรู้สึกที่ว่า สิ่งนั้นได้มาปรากฎต่อหน้าตาของเขา สำแดงหลักฐานต่าง ๆ ที่ล้วนชี้นำไปสู่ตัวผู้กระทำผิด และนั่นถ้าหากเขาชาญฉลาดเหมือนนักสืบ เขาก็จะต้องสามารถแก้ปัญหาที่น่าพิศวงนั้นได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องรอจนถึงบทสุดท้าย บ่อยครั้ง ผู้อ่านที่ฉลาดมักแก้ปัญหาได้โดยไม่ปริปากบ่น
      16. ไม่ควรแนะนำนักสืบในเรื่องยืดยาว ไม่ควรใช้โวหารเล่นลิ้นนอกประเด็น ไม่ควรหมกมุ่นกับการสร้างบรรยากาศ ไม่ควรวิเคราะห์ตัวละครอย่างมีนัย เหตุการณ์เหล่านี้ไม่จำเป็นในการบันทึกเรื่องอาชญากรรม และการหาเหตุผล นักสืบมีหน้าที่แสดงพฤติกรรม แนะนำประเด็นต่าง ๆ ที่ไม่เปิดเผยสู่เป้าประสงค์หลักซึ่งเป็นการแจ้งปัญหาและวิเคราะห์มัน และนำมันสู่การแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จ จงแน่ใจว่ามีการแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จ จงแน่ใจว่ามีการแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จ จงแน่ใจว่ามีการบรรยายและการจำแนกแยกแยะตัวละครอย่างมีประสิทธิภาพที่จะทำให้นวนิยายเรื่องนั้น ๆ มีลักษณะที่น่าจะเป็นไปได้
      17. ในเรื่องแนวสืบสวน อาชญากรผู้เชี่ยวชาญต้องไม่แบกรับความรู้สึกผิดในอาชญากรรมที่ตนได้ก่อขึ้น อาชญากรรมที่เกิดจากพวกบุกรุก และพวกผู้ร้าย ล้วนเป็นขอบข่ายงานของสถานีตำรวจ ไม่ใช่ของบรรดานักเขียน และนักสืบสมัครเล่นที่ปราดเปรื่อง อาชญากร ที่น่าดึงดูดใจจริง ๆ คือคนที่สารภาพความผิดกับเสาในโบสถ์ หรือจากบันทึกฉบับหนึ่งของสาวแก่สำหรับการบริจาคของเธอ
      18. อาชญากรรมในเรื่องต้องไม่เผยโฉมออกมาว่าเป็นเพราะอุบัติเหตุหรือการฆ่าตัวตาย การจบเรื่องแบบนี้เป็นการหลอกลวงผู้อ่านที่มีจิตใจดีและน่าไว้วางใจ
      19. แรงจูงใจของอาชญากรรมทั้งหมดในเรื่องแนวสืบสวนควรจะเป็นเรื่องส่วนตัว โครงเรื่องสากล และเรื่องสงครามเกี่ยวกับการเมือง เป็นโครงเรื่องของเรื่องแนวอื่น ๆ ที่มีแนวทางในการรับใช้ผู้อ่านแตกต่างกันออกไป อาจกล่าวได้ว่า มันควรเป็นประสบการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ผู้อ่านพบได้ทุกวัน และเป็นทางระบายแรงปรารถนาและความรู้สึกของผู้อ่านที่ถูกกดดันไว้
      20. และ (เพื่อทำให้กฎเกณฑ์ของผู้เขียนครบตามจำนวนข้อ) ขอเพิ่มคำแนะนำสองสามข้อ ที่ไม่มี นักเขียนเรื่องแนวสืบสวน ผู้มีความนับถือตนเองคนใด ใช้เพื่อทำให้เรื่องของตนมีคุณค่า แต่พวกมันก็ถูกนำมาใช้บ่อย อาจดูคุ้นเคยสำหรับ ผู้ที่รักการอ่านเรื่องแนวนี้ เพราะ การใช้สิ่งเหล่านี้ คือ การสารภาพผการไม่รู้จักกาลเทศะ และการขาดความริเริ่มของนักเขียน ได้แก่
        • การค้นหาหลักฐานจับอาชญากรด้วยการเปรียบเทียบยี่ห้อของก้นบุหรี่ที่อาชญากรทิ้งไว้ ในที่เกิดเหตุ กับยี่ห้อที่ผู้ต้องสงสัยสูบ
        • การสร้างฉากจำลองปลอมเป็นวิญญาณมาหลอกหลอนผู้กระทำผิดให้สารภาพ
        • ปลอมแปลงลายนิ้วมือ
        • สร้างพยานเท็จ
        • สุนัขไม่เห่าแสดงว่าผู้บุกรุกเป็นคนคุ้นเคย
        • การจับกุมอาชญากรรมคู่แฝด หรือพี่น้องที่มีใบหน้าคล้ายผู้ต้องสงสัย แต่ปรากฎว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
        • เข็มฉีดยาและหมัดเด็ด
        • ลายลักษณ์อักษรของฆาตกรที่ทิ้งไว้ในที่ห้องปิดล็อคหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกเข้าไป
        • การทดสอบหาความสัมพันธ์ของถ้อยคำสำหรับความผิด
        • รหัสลับ หรือจดหมายรหัสที่ค่อย ๆ เปิดเผยโดยนักสืบ


      Don't Write That Script !


      For all of the sad words of tongue or pen, The saddest are these: "It might have been !" (Maude Muller,1856)
      ถ้าหากคุณชื่นชอบการเขียนแต่พบว่าตัวเองเลื่อนการลงมือเขียนจริง ๆ ออกไป ถ้าอย่างนั้นลองตอบคำถามสั้น ๅ เหล่านี้
      1. คุณเลื่อนการเขียนออกไปจนนาทีสุดท้ายหรือเปล่า?
      2. เมื่อคุณนั่งลงเขียน คุณรู้สึกอยากไปล้างตู้เย็น หรือเกิดนึกขึ้นได้ว่าเก้าอี้ในห้องครัวต้องการการซ่อมแซม หรือเปล่า?
      3. ใช่หรือไม่ที่คุณเลื่อนการเขียนออกไปจนกว่าจะหาข้อมูลเสร็จ ซึ่งนั่นก็ปรากฎว่าเป็นโครงการที่ไม่มีวันจบสิ้น?
      4. ใช่หรือไม่ที่คุณพบว่าตัวเองวางแผนการทำงานมากมาย แต่ก็ไม่เคยได้เริ่มทำรายการแรกในแผนการนั้นเลยนั่นคือ การเขียน ?
      5. เมื่อคุณเขียน คุณได้รับความพอใจอย่างมากจากมันหรือเปล่า?
      ถ้าคุณตอบว่าใช่ตั้งแต่ 2 ข้อ หรือมากกว่านั้น เป็นไปได้ว่าคุณคือ นักผัดวันประกันพรุ่ง ถ้าคุณตอบใช่ทั้ง 5 ข้อ ถ้าอย่างนั้น ยินดีด้วย เพราะคุณคือ นักผัดวันประกันพรุ่งทั้งกายและใจทีเดียว
      การผัดวันประกันพรุ่งคืออะไร และเราได้รับเชื้อจากมันได้อย่างไร?
      ลองสังเกตเวลาเด็ก ๆ เล่น และสิ่งหนึ่งที่แน่นอนว่าคุณจะไม่พบคือการชักช้า ผัดวันประกันพรุ่ง ถ้ามีอะไรที่พวกเขาต้องการทำ พวกเขาก็จะทำ จริง ๆ แล้วมันเป็นการยากที่จะเกลี้ยกล่อมเด็ก ๆ ให้เลื่อนสิ่งที่พวกเขาอยากจะทำ ลองให้เด็กสักคนเข้านอนในขณะที่เขาต้องการดูโทรทัศน์ หรือเล่น ดูสิ
      โดยธรรมดา การผัดวันประกันพรุ่ง จะไม่เข้ามาสู่ความนึกคิดของเด็กจนกว่าจะเริ่มเป็นวัยรุ่น บางสิ่งจะเกิดขึ้น เมล็ดพืชแรกแห่งการผัดวันประกันพรุ่งจะถูกปลูกฝังโดยธรรมชาติ และจากช่วงเวลานั้นเป็นต้น การผัดวันประกันพรุ่ง ก็กลายเป็นกิจกรรมซึ่งถูกนำมาใช้ และอยู่ตลอดชีวิตของบุคคลนั้น ๆ
      เมื่อเป็นผู้ใหญ่ น่าแปลกที่พบว่าเรามักจะเลื่อนการทำบางสิ่งที่เราชื่นชอบ ต่างกับเด็กที่ยังคงทำสิ่งที่น่าพอใจไปเรื่อย ๆ โดยปราศจากการละทิ้ง ขณะที่ผู้ใหญ่จะทำในสิ่งที่ไม่ชอบเช่นการล้างห้องน้ำ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงจากบางสิ่งที่จะได้รับผลตอบแทน
      อะไรคือแรงผลักดันความบ้าอันน่าขันนี้ และทำไมถึงมีคนมากมายเป็นอย่างนี้
      ถ้าการผัดวันประกันพรุ่งเป็นเชื้อโรคร้ายแรง แล้ว ก็คงถูกศูนย์กลางการควบคุมโรคพิจารณาว่ามันเป็นนักฆ่าหมายเลขหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย โชคร้ายที่มันส่งผลกระทบต่อเราเหมือนเชื้อโรคที่ทำให้อ่อนเพลีย เพราะมันขัดขวางคนที่แข็งแรงและสามารถ จากการไปถึงเป้าหมายของเขา
      ทำไม นักผัดวันประกันพรุ่ง จึงไม่สามารถ"ลงมือทำ"ได้?
      การบอกให้นักผัดวันประกันพรุ่งเลิกผัดวัน ก็เหมือนกับการบอกคนติดอัลกอฮอลล์ให้เลิกดื่ม ทางรักษาของทั้งสองอย่างนี้ ไม่ได้ขึ้นกับพลังของความตั้งใจ และจุดมุ่งหมายที่ดีเท่านั้น แต่ขึ้นกับความเข้าใจว่าทำไมคนนั้นจึงประพฤติตนเช่นนั้น คนเราไม่ได้ติดเชื้อการผัดวันประกันพรุ่งกันได้ง่าย ๆ เมื่อเป็นวัยรุ่น มันเป็นความประพฤติที่คน ๆ นั้นเรียนรู้เพื่อที่จะรู้สึกดีกับตัวเองมากกว่า
      คนเราจะได้รับอะไรจากการผัดวันประกันพรุ่ง?
      จากการเลื่อนโครงการออกไปจนกว่าจะถึงกำหนดส่ง จะทำให้นักเขียนรู้สึกว่าเขาหรือเธอสามารถทำได้ดีกว่าเมื่อมีเวลามากขึ้น ไม่ต้องคำนึงถึงว่างานนั้นจะผลิตอย่างไร คุณภาพของมันจะดีกว่าถ้าเพียงแต่....
      ถ้าหากไม่มีกำหนดส่ง โครงเรื่องก็จะยิ่งแย่ ความคิดสำหรับเรื่องเยี่ยม ๆ มากมายพลุ่งพล่านออกมา เพียงแต่ว่ามันได้จางหายไปสู่เมื่อวาน โครงการเขียน ไม่เคยเสร็จ และอีกกรณีคือ ไม่เคยได้เริ่ม
      อย่างไรก็ดี นักเขียนยังคงเขียนต่อไปอย่างที่เคยเป็น ยังไงมันก็ยังง่ายกว่าการข้ามเขาเอเวอร์เรสต์ นักผัดวันประกันพรุ่ง ต้องดิ้นรนเพื่อที่จะเอาชนะการผัดวันประกันพรุ่งให้ได้ หนังสือและเพื่อนแนะนำให้วางแผนการทำงาน แล้วก็ทำตามนั้น ไป มันคงจะดีถ้าปัญหาอยู่ทีการจัดการ แต่มันไม่ใช่ ในความเป็นจริง แผนฯ ยิ่งส่งเสริมการผัดวันประกันพรุ่ง แผนฯ จะทำให้นักผัดวัน มีทางเลือกในสิ่งที่จะทำ เพิ่มมากขึ้นอีก แทนที่จะนั่งลงและลงมือเขียนจริง ๆ
      เมื่อไรก็ตามที่ผมไปบรรยาย ผมมักจะถือโอกาสถามผู้เข้าฟังเสมอว่ามีใครขายบทหนังไปบ้างรึยัง ไม่มีใครยกมือขึ้น ผมก็จะถามว่ามีใครเขียนบทเสร็จแล้วบ้าง ไม่มีใครยกมือขึ้น จากนั้นผมจะถามว่ามีใครได้ทำอะไรกับบทของเขาบ้างในสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังไม่มีใครยกมือขึ้น ผมจะถามต่อว่ามีกี่คนที่คิดว่าตัวเองคือ นักสมบูรณ์นิยม (Perfectionists) บ้าง นั่นแหละ จึงมีมือยกขึ้นบ้าง แต่ว่าตาของพวกเขาจับจ้องอยู่ที่พื้น
      ในการทำงานกับนักเขียน ผมมีความเชื่อว่า 90 % ของการผัดวันประกันพรุ่งนั้นเกี่ยวเนื่องกับความสมบูรณ์แบบ นี่อาจอธิบายได้ว่าทำไมนักผัดวันประกันพรุ่งจึงไม่ยอมทำงานให้เสร็จจนกว่านาทีสุดท้าย ในความคิดของนักผัดวันประกันพรุ่ง เขาหรือเธอมักตัดสินว่างานในนาทีสุดท้ายนั้นมักเป็นงานที่ด้อยกว่างานที่เขาสามารถทำได้จริง ถ้าเขาไม่ให้เวลาที่มากพอในการทำงานให้เสร็จแล้ว ความสามารถของเขาก็จะไม่มีวันถูกทดสอบจริง ๆ มันสะดวกสบายดีสำหรับนักผัดวันประกันพรุ่ง ที่จะอยู่เฉย ๆ จนกว่าจะนาทีสุดท้าย เพื่อเลี่ยงการประเมินผลงานของพวกเขา หรือ/และ การแข่งขันในสนามที่พวกเขาเลือก
      การผัดวันประกันพรุ่ง พัฒนามาจากอะไรในขั้นแรก?


      อะไรจะเกิดขึ้น? เมื่อไร?

      แปลจากบทความ "What's Supposed to Happen - When? : A Summary of Various Script Breakdowns and Systems"
      ของ MARY SHOMON'S HOME PAGE
      ข้ออ้างอิงเหล่านี้คัดสรรมาจากหนังสือ และอาจารย์ทางด้านการเขียนบทภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นผู้แต่งหนังสือเหล่านี้
      Writing Screenplays That Sell by Michael Hauge
      Click here to go to Hauge's book at Amazon.com
      How to Write a Movie in 21 Days : The Inner Movie Method by Viki King
      Click here to go to King's bood at Amazon.com
      Lew Hunter's Screenwriting 434 by Lew Hunter
      Click here to go to Hunter's book at Amazon.com


       Action/Plot Point /Description
      นาที/ที่
       ปูพื้น"                                                                                                 :  : ตัวละครเป็นใคร? เรื่องเกิดที่ไหน? เวลา? บรรยากาศ? อารมณ์? เรื่องเกี่ยวกับอะไร? เป็นเรื่องของใคร? ตัวเอกต้องการอะไร? และอะไรที่กำลังขัดขวางตัวเอกไม่ให้ได้มันมา? เรารักตัวเอกหรือเปล่า และสนใจมั้ย ว่าเขาจะได้สิ่งที่เขาต้องการหรือไม่ ? และอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป?                                                                               
      1-1          
      "จุดที่เป็นคำถามสำคัญ": คำถามสำคัญ,แก่นเรื่อง และประเด็นหลักที่หนังพยายามจะตอบคืออะไร?
      3
      "ช่องทางใหม่" : บางอย่างที่เกิดขึ้นเพื่อหักเหเหตุการณ์ให้เดินไปสู่ทิศทางเฉพาะทางหนึ่ง
      12
      "ทางเลือก" : จาก"ช่องทางใหม่" ตัวเอกจะเริ่มก้าวไปสู่ เป้าหมายกว้าง ๆ อันหนึ่ง
      12-30
      "เปลี่ยนแผน/จุดหักเห" : เหตุการณ์อะไรที่ ทำให้ตัวเอกจนมุม กระตุ้นให้ตอบโต้หรือมีปฏิกิริยาตอบกลับ และกำหนดแผน/เป้าหมาย ของตัวเอก บีบเส้นทางใหม่ของตัวเอกเข้าสู่องก์ที่ 2 ? เป้าหมายกว้าง ๆ กลายเป็น เป้าหมายที่แคบลง
      30
      "เรื่องเดินไปข้างหน้า" : แผนที่จะไปสู่เป้าหมายนั้นได้ผล มีความขัดแย้งแต่ทุกอย่างดำเนินไปได้ด้วยดี ตัวเอกกำลังเปลี่ยนไป สภาวะแวดล้อมกำลังเปลี่ยนแปลง และเดิมพันสูงมากขึ้น
      30-60
      การเปรียบเทียบ : ฉากเล็ก ๆ สอดแทรกสัญลักษณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นพัฒนาการของตัวเอก และเผยให้เราเห็นแนวทางในการแก้ปัญหา
      45
      POINT OF NO RETURN : บางอย่างเกิดขึ้น ทำให้ถ้าหากตัวเอกดับเครื่องชนเพื่อไปสู่เป้าหมาย ก็จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และก็ไม่สามารถถอยกลับไปสู่ที่ ๆ เขา/เธอเคยเป็นในช่วงปูพื้นบางครั้งช่วงนี้เป้าหมายภายนอกก็กลายมาเป็นเป้าหมายภายในหรือส่วนตัว และการมุ่งไปสู่จุดหมายก็จะเปลี่ยนแปลงตัวเอก
      60
      POST-POINT MOMENT : ภาวะผ่อนคลาย ซึ่งโดยปกติจะตามหลัง POINT OF NO RETURN ไม่มีการกระทำ (ACTION) ที่คืบหน้า แต่จะแสดงให้เห็นว่าตัวเอกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จากนั้นอุปสรรคก็เริ่มเพิ่มพูน
      60+
      ความยุ่งยาก และเดิมพันที่สูงขึ้น : เป้าหมายกลับกลายเป็นสิ่งยากมากขึ้นที่จะได้มา ราวกับว่าต้องทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อได้สิ่งนี้ มันยากกว่าที่คาดคิด แต่ตัวเอกรู้สึกว่ามันท้าทายและต้องการมันมากกว่าเดิม
      60-90
      ความหวังสูญสิ้น/ความถดถอยครั้งสำคัญ/ความมืดมนครั้งใหญ่/ห้วงแห่งความพ่ายแพ้ : ความถดถอยอย่างใหญ่หลวง มีวี่แววว่าตัวเอกอาจจะไปไม่ถึงเป้าหมาย และเกือบจะยอมแพ้ แต่บางอย่างก็เกิดขึ้นซึ่งเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง มีเหตุการณ์ที่ให้โอกาสไปถึงเป้าหมาย ซึ่งตัวเอกไม่รู้ว่าตัวเองมี
      90
      FINAL PUSH --> ONE SPECIFIC ACTION : ความฮึกเหิมครั้งสุดท้ายในการมุ่งไปสู่จุดหมายของตัวเอก ซึ่งปกติจะมาเข้มข้นตรงนี้ ทำให้เกิดการกระทำพิเศษอย่างหนึ่ง มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นซึ่งให้บทเรียนกับตัวเอก และเริ่มการคลี่คลายปัญหา ตัวเอกอาจจะได้อะไรมากกว่า หรือแตกต่างจากสิ่งที่คาดว่าจะได้รับ ตัวเอกเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างและถูกเปลี่ยนแปลงโดยความยุ่งยากใหม่ที่เข้ามา
      90-108
      CLIMAX : ตัวเอกสู่มุมอับ มองเห็นทั้งเป้าหมายและอุปสรรคสุดท้าย จำต้องละทิ้งทุกอย่างเพื่อ ไปให้ถึงเป้าหมาย เป็นห้วงแห่งวิกฤต ซึ่งดูจะอันตรายไปหมด ชั่วขณะท้ายสุด ได้ทุกอย่างหรือไม่ได้อะไรเลย ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว แรงจูงใจภายนอกได้รับการแก้ปัญหาอย่างใสสะอาด ผ่านการเผชิญหน้ากับโชคชะตา
      108-114
      การคลี่คลาย: ผลลัพธ์,การคลี่คลาย,ชีวิตใหม่ของตัวเอก คืออะไร?
      108-114
      จบเรื่อง

      0 ความคิดเห็น: